เรียนกัลยาณมิตร

ด้วยครอบครัว เกษตรศิริ  กำหนดจัดงานเสวนา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: วิกฤตการณ์บ้านโป่ง 2485”  และพิธีบรรจุอัฐิ นายเชิญ นางฉวีรัตน์  เกษตรศิริ และบรรพชน  ในวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557  เวลา 10.00 – 16.30 น. ณ วัดดอนตูม  อำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี  จึงขอเรียนเชิญท่านให้เกียรติร่วมงานดังกล่าว  ตามกำหนดการที่แนบมาพร้อมนี้

อนึ่งในงานดังกล่าว จะมีการจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "บ้านโป่ง กับ พ่อและแม่: ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว Once Upon a Time in Ban Pong" เพื่อเป็นอนุสรณ์ และเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และหารายได้ก่อตั้ง "ชมรมรักษ์บ้านโป่งและโพธาราม"

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับเกียรติจากท่าน  ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ชาญวิทย์

 

Local History-1942 Ban Pong Affair กำหนดการ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านโป่ง

และพิธีบรรจุอัฐิ นายเชิญ นางฉวีรัตน์ เกษตรศิริ และบรรพชน

ณ วัดดอนตูม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

(Wat Don Toom, Ban Pong, Ratburi Sun 9 February 2014)

 

อาทิตย์  9  กุมภาพันธ์  2557 

10.00             บรรจุอัฐิ และพิธีทางศาสนา โดยมีเจ้าอาวาสวัดดอนตูม เป็นประธาน Religious Ceremony

11.00             ถวายภัตตาหารเพล

12.00             อาหารกลางวัน/Lunch

 

ภาคบ่าย กำหนดการเสวนา  ย้อนรอยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รำลึกสงครามมหาเอเชียบูรพา

วิกฤตการณ์บ้านโป่ง 2485 เหตุเกิด ณ วัดดอนตูม” Panel Discussion-Ban Pong Affair 1942

13.00             ลงทะเบียน (ฟรี)

13.30             เปิดงาน โดย  พลเอก นพ. สิงหา  เสาวภาพ

14.00             ภาพยนตร์  วิกฤตการณ์บ้านโป่ง (Films/Ban Pong Affair)” - “คิดถึงเชิญ-ฉวีรัตน์  เกษตรศิริ

14.30             เสวนา วิกฤตการณ์บ้านโป่ง 2485 เหตุเกิด ณ วัดดอนตูม” (-ชาญวิทย์  เกษตรศิริ (ศ.ดร.)-ประสาน วงศาโรจน์ (ดร.)-สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ (พ.ท. ดร.)-จินตพิชญ์  กลั่นประยูร (อ.)-วรรษิดา พิทักษ์พิเศษ (อ.)-สายพิน แก้วงามประเสริฐ (อ.)-บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ คณะนักเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ร.ร. รัตนราษฎร์บำรุง จัดทำภาพยนตร์สารคดี)

16.30            ชัยวัฒน์ เกษตรศิริ กล่าวขอบคุณ และปิดงาน

พิธีกร           วรรษิดา   พิทักษ์พิเศษ(อ.)-นิมิตร  เกษตรศิริ (นายหมวดตรี)

หมายเหตุ    แต่งกายตามสบาย........................

…..อนึ่ง สำหรับทางรถไฟสายมรณะ Death Railway นั้น หลัก กม 0 เริ่มจากสถานีหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง ญี่ปุ่นตอกหลักเมี่อ 5 กรกฎา 2485/1942 ก่อนหน้านั้นเพียง 1 สัปดาห์เมื่อ 28 มิถุนา ญี่ปุ่นก็ได้ตอกหลัก 0 ที่สถานีตันบูซายัต ในเมืองมอญพม่าตอนล่าง ทางรถไฟสายมรณะนี้ มีความยาวทั้งสิ้น 415 กม. อยู่ในไทย 304 ในพม่า 111 เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เพื่อการรุกรบเข้าไปในพม่า และอินเดีย ต้องใช้แรงงานสร้างจำนวนมาก เป็นเชลยทาสชาวเอเชีย ที่ญี่ปุ่นจับมา และเป็น เชลยศึกฝรั่ง จำนวนหนึ่ง กับกรรมกรไทย ที่ได้รับค่าจ้าง......................

…..ในช่วงนั้น เกิด วิกฤตการณ์บ้านโป่งซึ่งมีเรื่องโดยย่อ คือ เมื่อ 18 ธันวาคม 2485/1942 ตอนบ่ายแก่ๆ พระรูปหนึ่งมาจากวัดห้วยกระบอก (อำเภอกำแพงแสน กาญจนบุรี) มาถึงหน้าวัดดอนตูม ได้ให้ทานบุหรี่กับเชลยศึกฝรั่ง ทหารญี่ปุ่นเห็นเข้า ก็เข้ามาด่าแล้วตบหน้าพระ กรรมกรไทยเห็นเหตุการณ์ ก็เจ็บแค้น ครั้นเวลาประมาณ 3 ทุ่ม ทหารญี่ปุ่นปะทะกับกรรมกรไทย มีผู้บาดเจ็บล้มตายทั้งสองฝ่าย และถูกทหารญี่ปุ่นจับและขังไว้เป็นจำนวนมาก เรื่องราวลุกลามใหญ่โต ญี่ปุ่นต้องการให้ลงโทษประหารชีวิตพระและกรรมกรไทย คดีนี้ถูกนำขึ้นศาลทหารไทย และตัดสินคดีเมื่อ 19 มิถุนายน 2486/1943 หรืออีก 6 เดือนต่อมา จำเลยทั้ง 3 คือ เพิ่ม สิริพิบูล (พระ? เณร? นาย) จำคุกตลอดชีวิต (นายเพิ่ม นายเปะ นุ่มชินวงส์ จำคุกตลอดชีวิต พลทหารจา โสมทัต จำคุก 10 ปี เหตุการณ์และคดีนี้ ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการเล่าขานกันในรูปของประวัติศาสตร์บอกเล่า อย่างน่าสนใจยิ่ง .......................